การประกันความเสี่ยง..ในมุมมองของนักการเงินของเมืองไทย

images (20)

ชีวิตคนเราต้องประสบพบเจอกับความเสี่ยงตลอดเวลา ตั้งแต่ตื่นเช้าจนเข้านอน แบบว่ายากจะหลีกเลี่ยงได้ ดังคำพระท่านว่า ” โลกเรานี้ไม่มีอะไรแน่นอน ” วันนี้ยังเห็นกันอยู่ดีๆ วันพรุ่งนี้อาจจะไม่ได้เจอกันอีกแล้ว

ดังนั้น สิ่งที่เราทุกคนควรตระหนักไว้ตลอดเวลา คือ การยอมรับว่าโลกนี้มีความเสี่ยงอยู่ และหน้าที่ของเราก็คือ ปกป้องและคุ้มครองชีวิตตัวเองจากความเสี่ยงนั้นๆ หรืออย่างน้อยก็พยายามลดผลกระทบจากมันให้ได้มากที่สุด

ทั้งนี้การป้องกันชีวิตจากความเสี่ยงนั้นทำได้ง่ายๆ ด้วยการดำรงชีวิต อย่างมี “สติ” หลีกเลี่ยงการใช้ชีวิตที่จะพาตังเองไปสู่ปัญหา และอันตรายต่างๆ และที่สำคัญที่สุดก็คือ การใช้ชีวิตอย่างไม่ประมาท

อย่างไรก็ดี คนเราไม่มีทางป้องกันชีวิตจากความเสี่ยงได้ทั้งหมด ดังนั้นเราจึงต้องมีเครื่องมือตัวนึง เพื่อช่วยในการบรรเทาผลกระทบจากความเสี่ยง ชื่อก็คือ ” การประกัน ” นั่นเอง

กฎทองของการประกัน

ในมุมมองด้านการเงิน การประกัน ถือเป็นการบริหารค่าใช้จ่ายอย่างหนึ่ง ทั้งนี้ เพราะค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการประกันนั้น ถือได้ว่าน้อยกว่าค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงจากความเสี่ยงภัยที่มีโอกาสจะเกิดทั้งสิ้น เช่น การเกิดอุบัติเหตุที่คนอื่นมาทำให้เราเกิดอันตราย หรือ อุบัติเหตุต่างๆที่เราไม่สามารถควบคุมได้

อย่างไรก็ดีมีคนจำนวนไม่น้อย คิดว่า การประกันเป็นการสิ้นเปลือง และมองโลกในแง่ดีว่า เรื่องร้ายๆที่เกิดขึ้นกับคนอื่นนั้น คงไม่มีทางเกิดขึ้นกับตัวเราแน่นอน ซึ่งความคิดดังกล่าวถือว่าเป็นความคิดที่เสี่ยงมากๆ

เกิดปัญหาก่อนแล้วจึงค่อยวิ่งหาซื้อ

ทั้งนี้เพราะกฎทองของการประกันกล่าวไว้ว่า “คูณไม่สามารถซื้อประกันในเวลาที่คุณต้องการได้” และก็เป็นเช่นนั้นจริงๆ 

“ประกัน” เป็นเครื่องมือที่ต้องหาซื้อไว้ล่วงหน้า ไม่ใช่รอให้

main1

ประกันที่จำเป็นต้องมี

1. ประกันชีวิต ( Life insurance )

บางคนมีความเชื่อแบบผิดๆว่า การทำประกันชีวิตเป็นการแช่งตัวเอง ซึ่งเป็นความคิดที่ไร้สาระมาก เพราะไม่มีใครรู้หรอกว่าเราจะตายจากกันวันไหน คำถามคือ จะดีกว่าไหม? ถ้าเราตายแล้วคนข้างหลังเราจะไม่เดือดร้อน แต่อย่างไรก็ดี ในปัจจุบันคนส่วนใหญ่ไม่กลัวตายแต่จะกลัวอยู่อย่างจนมากกว่า

แบบประกันชีวิต มี 4 แบบคือ

– แบบตลอดชีพ

-แบบสะสมทรัพย์

-แบบชั่วระยะเวลา

-แบบเงินได้ประจำ

นอกจากนี้ คุณควรพิจารณาเลือกประกันที่มีอายุมากกว่า 10 ปี เพื่อรับผลประโยชน์ทางภาษีด้วย ซึ่งในปัจจุบันลดหย่อนได้ถึง 100,000 บาท

ในส่วนของทุนประกันชีวิต แนะนำให้พิจารณาเรื่องของภาระหนี้สินเป็นสำคัญ ทั้งนี้ ทุนประกันของคุณไม่ควรต่ำกว่าภาระหนี้สินรายการสำคัญๆในชีวิต เช่น มีหนี้จดจำนองบ้าน 1.5 ล้าน ก็ไม่ควรมีทุนประกันต่ำกว่า 1.5 ล้าน

2. ประกันอุบัติเหตุ  และสุขภาพ ( Accidental and Medicare )

ประกันอีกกลุ่มที่ไ่ม่ควรละเลย ก็คือ การประกันอุบัติเหตุและสุขภาพ ซึ่งโดยปกติแล้วเบี้ยประกันประเภทนี้จะไม่สูงมากนัก และมักซื้อได้แยกต่างหาก โดยไม่รวมกับตัวหลัก ส่วนประกันสุขภาพ ก็พิจารณาจากความเหมาะสมหรือสวัสดิการต่างๆที่มีว่าเพียงพอแล้วหรือไม่ เพราะในปัจจุบันค่ารักษาในโรงพยาบาลแต่ละแห่งปรับตัวสูงงขึ้นเป็นอย่างมาก ทำให้ต้องพิจารณาสวัสดิการที่มีอยู่ให้ครอบคลุม

images (21)

3.ประกันรายได้ ( Income protection )

อันนี้สำหรับบุคตลที่ใช้ตัวเองเป็นเครื่องมือหาลี้ยงชีพ เช่น วิศวกร คุณหมอ ดารา ที่ปรึกษา หรือพวกมืออาชีพทั้งหลาย ที่การหยุดทำงาน เนื่องจากการเจ็บป่วยหรืออุบัติเหตุ ส่งผลให้รายได้ของคุณขาดหายไปเป็นจำนวนมาก การประกันแบบนี้ถือได้ว่า เป็นเครื่องมือคุ้มครองรายได้ให้กับเรา ในวันที่ไม่สามารถทำงานได้ ถ้าใครเป็นพวกที่มีค่าตัวสูงๆ การประกันประเภทนี้สำคัญอย่างยิ่ง

4. การประกันทรัพย์สิน เพื่อบ้านและรถยนตร์

ประกันชนิดนี้ ส่วนใหญ่จะเข้าใจดีอยู่แล้ว เพราะในชีวิตประจำวัน การขับรถเฉี่ยวชนเป็นเรื่องที่แทบจะเห็นได้บ่อยครั้ง เพราะฉนั้นการทำประกันรถยนตร์ก็ควรเป็นเรื่องที่ต้องมี

603395_359325570807618_694007785_n

 การเลือกซื้อประกัน

1) เลือกตัวแทนที่เก่งและไว้ใจได้

เรื่องนี้สำคัญอันดับ 1 เลย คุณต้องมองว่าตัวแทนประกัน คือ ที่ปรึกษาทางการเงินที่คุณไว้ใจในความซื่อสัตย์ได้ และมีความรู้ความสามารถด้านประกันชีวิตและการเงินอย่างแท้จริง ถ้าไม่ อย่าไปคุย เสียเวลา เพราะคนเหล่านั้นเป็นได้แค่คนขายของ

อันนี้ทำโดยการสอบถามพูดคุย โดยบอกความต้องการของเราไป เช่น รูปแบบความคุ้มครองที่ต้องการ เงินออมหลังสิ้นสุดระยะเวลาประกัน งบประมาณในการซื้อประกันของคุณ เป็นต้น (จะเห็นว่าตัวคุณเองก็ต้องมีความรู้เรื่องพวกนี้ด้วย) แล้วลองให้ตัวแทนเสนอมาสัก 2-3 แบบ แล้วให้เค้าตัดสินใจแทนตัวเราว่า แบบไหนเหมาะสมกับตัวเรามากที่สุด เพื่อวัดความสามารถของตัวแทน การใช้เวลาและการใส่ใจรายละเอียดตรงนี้สำคัญมาก ทั้งนี้เพราะเราต้องการซื้อประกันและได้ที่ปรึกษาทางการเงินที่จะดูแลเราไปตลอดด้วย ไม่ใช่แค่นักขายที่ขายได้ก็จบ

อีกเกณฑ์ที่ใช้เลือกตัวแทน คือ อายุงานและผลงานในอดีต เรื่องอายุงานและฝีมือนั้น สามารถทดสอบได้ตามข้างต้น แต่สำหรับผลงาน ผมมักให้เค้าบอกชื่อลูกค้าชั้นดีของเขามา 1-2 ราย และขอเบอร์เพื่อติดต่อพูดคุย ใครจะว่าเรื่องมากก็ว่าไป แต่ของแบบนี้จ่ายแล้วก็ต้องได้อะไรที่คุ้มค่าครับ

2) ซื้อประกันตามความจำเป็น

ครั้งนึงผมเคยไปบรรยายหัวข้อ Financial freedom made easy ที่ห้องสมุดมารวย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หลังการบรรยาย มีพี่ท่านนึงเข้ามาเล่าให้ฟังว่า เธอกำลังมีปัญหา เพราะดันไปซื้อประกันทีเดียว 3 ฉบับ เบี้ยประกันร่วมแสน เพื่อหวังสิทธิประโยชน์ทางภาษี ตามที่ตัวแทนแนะนำ ผลคือ ตอนนี้เธอขาดเงินในการใช้จ่าย เพราะดันเอาเงินเก็บมาที่มีอยู่เพียงเล็กน้อยมาซื้อประกัน และตอนนี้มีความจำเป็นต้องใช้เงินก้อนดังกล่าวขึ้นมา

จำไว้เลยนะครับว่า อย่าซื้อประกันด้วยสิทธิทางภาษี เพราะนั่นมันเป็นผลของผลพลอยได้ ที่คุณต้องมองคือ ประโยชน์ทางตรงที่ได้รับ ( ความคุ้มครอง) ว่ามันตรงกับความต้องการ หรือเป้าหมายทางการเงินของคุณหรือไม่

อย่างที่ได้บอกไป ถ้าเงินซื้อประกันไม่พแ เริ่มต้นด้วยการซื้อประกันอุบัติเหตุและสุขภาพ ไปก่อน เพระามีค่าใช้จ่ายไม่สูงมาก หรืออาจเป็นค่อยๆเพิ่มทุนประกันตามความพร้อมของชีวิต

3) วางแผนการเงินสำหรับการซื้อประกันในปีต่อๆไป

นี่เป็นอีกเรื่องที่คุณต้องใส่ใจ เพราะการประกันโดยเฉพาะประกันชีวิต เป็นเรื่องของภาระระยะยาว ดังนั้น ก่อนซื้อประกัน คุณควรวางแผนการเงินใ้หเดีก่อนว่าถ้าซื้อประกันในปีนี้แล้ว ปีต่อๆไป จะต้องเก็บเงินอย่างไร เพื่อที่จะสามารถส่งประกันได้ เมื่อถึงกำหนดเวลาแต่ละปี

บางคนเหลือเงินโบัสในปีนี้มากหน่อย ก็ซื้อประกันเสียเยอะเชียว จนลืมคิดไปว่าปีหน้าต้องส่งในอัตราเดียวกันนี้ด้วย ดังนั้น คุณต้องเริ่มจากการเลือกซื้อประกันตามความจำเป็น จากนั้นก็วางแผนเก็บเงินไว้ใช้ชำระในปีถัดไป ทั้งนี้คุณอาจหักเงินเท่ากันทุกๆเดือน ไว้เพื่อจ่ายเบี้ยในปีต่อไปก็ได้

Cr. Financial Literacy : จักรพงษ์ เมษพันธุ์ (money coach)

financial_literacy

You may also like...