ประกัน..สำหรับลูก

หลายๆคน ที่เป็นคุณแม่ มักจะมีคำถามบ่อยๆหลังลูกเกิดได้ไม่นาน ว่า

อยากซื้อประกันสุขภาพให้ลูก..จะเลือกแบบไหนดี

ในวันนี้ก็เลยอยากจะขออธิบายหลักในการเลือกซื้อประกันให้ลูก..ว่าควรจะเป็นแบบไหน

เพื่อช่วยให้คุณแม่หลายๆท่านตัดสินใจในการเลือกซื้อ..เพื่อให้ความคุ้มครองคลอบคลุมมากที่สุด

310512_Baby-1

จากที่กล่าวข้างต้น ผู้เขียนไม่ได้พูดถึงคำว่า ” คุ้มที่สุดหรือ คุ้มค่ามากที่สุด”

เพราะอะไรกัน???

….. การที่เราเอาคำว่า ถูกๆหรือคุ้มๆดีๆ มาเป็นตัวตัดสินใจว่า เราควรจะซื้อประกันยังไงให้ได้ตามที่เราคิดไว้นั้น

บางทีเมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ต้องใช้ประกันแล้ว…คุณแม่หลายๆท่านอาจจะต้องควักเงินในกระเป๋าที่คิดว่าจะเตรียมไว้เพื่ออนาคตของลูกมาใช้จ่ายค่ารักษาพยาบาลนั้นก็เป็นได้

เพียงเพราะเราใช้คำว่าถูกหรือคุ้มมาเป็นตัวกำหนด

จากนี้ไปจะขออธิบายว่าถ้าต้องการซื้อประกันให้ลูกควรจะพิจารณาอะไรบ้าง

อันดับแรก. สถานที่ใช้บริการ

อันนี้สำคัญมาก เพราะต้องยอมรับว่า โรงพยาบาลที่หาง่าย และมีมากมายทั้งอุปกรณ์ หมอ เจ้าหน้าที่ และการบริการที่รวดเร็ว ส่วนใหญ่จะเป็นโรงพยาบาลที่ต้องจ่ายค่าบริการที่สูงขึ้นแลกกับการบริการที่รวดเร็ว ดังนั้นพ่อแม่ ต้องพิจารณาว่า ในบริเวณที่เราพักอาศัยนั้น โรงพยาบาลที่เราสามารถเข้าไปใช้บริการได้สะดวกที่สุดและเร็วที่สุด ( เผื่อฉุกเฉิน) คือโรงพยาบาลอะไร

ถ้าคำตอบคือ รัฐบาล … ค่าใช้จ่ายก็อย่างที่เราๆท่านๆรับทราบดี คือ ไม่แพงมาก ถึงแม้จะต้องรอสักหน่อย เราก็รอได้ ตามการบริการของโรงพยาบาลรัฐนั้นๆ

แต่ถ้าคำตอบคือ เอกชนล่ะ…ก็เช่นกัน ค่าใช้จ่ายที่เราๆท่านๆรับรู้ คือ ค่อนข้างสูงหรือสูงเลยทีเดียว แต่ก็แลกกับการบริการที่ดี เร็ว และอุปกรณ์ที่พร้อม

คราวนี้เรามาดูว่า แล้วประกันล่ะจะซื้อยังไง

ต้องทำความเข้าใจประกันกันสักนิดนึงว่ามีอะไรบ้าง เมื่ออยากให้ลูกที่เรารักมีประกันสักเล่ม

1 . ประกันชีวิตตัวหลัก หรือทุนประกันนั่นเอง เป็นสัญญาหลักที่ต้องซื้อก่อนเพื่อเป็นความคุ้มครองขั้นแรก ในกรณีเสียชีวิตก็จะได้เงินก้อนนั้น

ก็มีหลายๆคนบอกว่า ไม่อยากได้ตัวหลัก อยากได้สุขภาพเลยได้ไหม ??

บริษัทประกันส่วนใหญ่ จะไม่สามารถซื้อสัญญาสุขภาพได้แค่ตัวเดียว ต้องซื้อตัวหลักก่อนถึงจะซื้อสํญญาเพิ่มเติมได้

( สัญญาเพิ่มเติม มองให้เหมือน ก็คือ ท้อปปิ้ง ที่เราสามารถเลือกที่จะซื้อหรือไม่ซื้อตัวไหนก็ได้ )

แต่จะมีบางบริษัท ที่สามารถซื้อสัญญาสุขภาพได้อย่างเดียวโดยที่ไม่ต้องซื้อตัวหลัก ( ขอไม่อธิบายว่าที่ไหน )

อันนี้ก็เป็นเรื่องที่คุณพ่อคุณแม่ต้องหาข้อมูล เพื่อให้เข้าใจรายละเอียดของสํญญาตัวนั้นว่ามีข้อดีข้อเสียอย่างไร และทำไมบริษัทส่วนใหญ่ถึงต้องซื้อตัวหลักก่อน ถึงจะสามารถซื้อสัญญาเพิ่มเติมได้

เมื่อเรารู้ว่าตัวหลักต้องมี แล้วมันมีอะไรให้เลือกบ้างล่ะ

ขอส่งลิ้งเพื่ออธิบาย รายละเอียดขอแบบตัวหลักต่างๆ

http://moneyplan4life.com/%E0%B9%82%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%87/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%95/

เมื่อเรารู้ว่าสัญญาตัวหลักแต่ละอย่างเป็นอย่างไร ก็เป็นทางหนึ่งที่ทำให้เราสามารถตัดสินใจ

ก็แล้วแต่คุณพ่อคุณแม่ว่าอยากให้ลูกมีความคุ้มครองหลักแบบไหน

แต่!!!… สำหรับผู้เขียน จะมีข้อแนะนำบางอย่างเพื่อให้คุณพ่อคุณแม่ได้ตัดสินใจ

สัญญาตลอดชีพ…เหมาะสำหรับเป็นตัวหลัก ในการที่คุณพ่อคุณแม่จะซื้อสัญญาสุขภาพให้ลูก เพราะอะไรล่ะ?

เพราะการที่เราเลือกแบบตลอดชีพ วันที่ลูกเกิด เราซื้อตลอดชีพให้ลูก เพราะฉนั้นบริษัทก็จะคุ้มครองให้ลูกเรายาวจนถึงอายุ 99 ปี เป็นข้อดีของสัญญาชนิดนี้

แต่พ่อแม่บางคนก็อยากเก็บออมให้ลูกไปด้วย แล้วไม่ดีหรอ ถ้าจะซื้อแบบออมทรัพย์ให้ลูก เผื่อวันนึงลูกจบจะได้มีเงินก้อนให้ลูกไปเป็นทุนสักหน่อย….ผู้เขียนก็ เห็นด้วยคะ ดีคะ สัญญาออมทรัพย์ ก็ดี ลูกจะได้เงินก้อนตอนครบสัญญา

แต่ลองพิจาณาเหตุผลที่ผู้เขียนขอบอกนะคะ..เนื่องจากความต้องการแรกที่คุณพ่อคุณแม่ทั้งหลายทำประกันนี้ก็เพื่อให้ลูกได้มีความคุ้มครองทางด้านสุขภาพ เพราะฉนั้น ผู้เขียนมองว่า ถ้าคุณพ่อคุณแม่ เลือกที่จะซื้อสัญญาหลักเป็นแบบตลอดชีพ ลูกก็จะสามารถซื้อสัญญาสุขภาพได้ยาวนานมากขึ้น เมื่อเทียบกับสัญญาออมทรัพย์ที่จะกำหนดระยะเวลาของสัญญา ว่าจะสิ้นสุดเมื่อไหร่ เมื่อสัญญาสิ้นสุดแล้ว เราก็จะไม่สามารถซื้อสัญญาสุขภาพนั้นได้อีก นอกเสียจากต้องซื้อกรมธรรม์เล่มใหม่ และ ซื้อสัญญาสุขภาพใหม่ อีกครั้งนึง

บางท่านอาจบอกว่าก็ซื้อเล่มใหม่สิ..จริงคะซื้อเล่มใหม่ แต่ไม่มีใครรู้ใช่ไหมว่าตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา อาจจะมีเหตุการณืที่ไม่คาดฝันทำให้คนๆนึงมีประวัติสุขภาพติดตัวไปด้วย..ซึ่งเมื่อนั้น การซื้อสัญญาเล่มใหม่ก็อาจจะเป็นการยาก ในการที่บริษัทจะรับทำประกัน

ผู้เขียนจึงขอแนะนำให้ซื้อประกันตัวหลักเป็นแบบตลอดชีพ…คุ้มครองยาวนาน

ส่วนประกันออมทรัพย์ ถ้าคุณพ่อคุณแม่ยังมีเงินเหลือหรืออยากออมในที่ๆ เอาออกยาก ก็แนะนำว่าทำอีก 1 ฉบับได้เลยคะ

ส่วนทุนประกันเท่าไร..ก็แล้วแต่คุณพ่อคุณแม่ เพราะเราคงไม่อยากได้ทุนประกันชีวิตจากลูกใช่ไหมคะ

images (3)

2. สัญญาเพิ่มเติม ตัวนี้ง่ายๆคะ มันคือ TOPING ไว้ให้เราเลือกซื้อว่าจะซื้ออะไรเพิ่มบ้าง

แล้วมันมีอะไรบ้าง

http://moneyplan4life.com/%E0%B9%82%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%87/%E0%B8%84%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%A5/

ตามข้างบนคะ

จริงๆแล้ว ส่วนใหญ่ คุณพ่อคุณแม่หลายๆท่านก็มักจะเลือกซื้อสัญญาสุขภาพที่เป็นค่ารักษาพยาบาลเท่านั้น เพราะเป็นห่วงเวลาลูกน้อยเข้าโรงพยาบาลแล้วจะมีค่าใช้จ่ายตรงส่วนนี้ค่อนข้างมาก เพื่อช่วยเชพค่าใช้จ่ายส่วนนึง แต่จริงๆแล้ว สัญญาโรคร้ายแรงและสัญญาอุบัตืเหตุ ก็จำเป็นสำหรับเด็กทุกๆคนเช่นกัน เพราะ ถึงจะบอกว่าลูกยังเด็ก โรคร้ายแรงคงไม่เป็น แต่เด็กบางคน ก็รับความโชคร้ายนั้นมาอยู่กับตัวเช่นกัน เพียงแค่เราไม่เห็นเด็กที่โชคร้ายนั้นด้วยตาของเราเอง เราจึงไม่คิดว่าสัญญาโรคร้ายแรง จำเป็นขนาดไหน ยังมีเด็กโชตร้ายมากมาย ถ้าเรายอมโอนความเสี่ยงเมื่อเกิดเรื่องร้าย ก็ดีกว่าไหมคะ ส่วนสัญญาอุบัติเหตุ เด็กส่วนใหญ่เกิดอุบัติเหตุด้วยกันทั้งสิ้น แค่ไม่รู้ว่าจะแผลเล็กหรือแผลใหญ่ สัญญาตัวนี้ก็จำเป็นอีกตัวหนึ่ง

09082pic

เรามาดูหลักๆกันนะคะ ตัวที่จำเป็นจริงๆสำหรับเด็ก คือสัญญาสุขภาพที่เป็นค่าห้อง ค่ารักษาพยาบาล

ในปัจจุบันค่ารักษาพยาบาลมี หลักๆ ด้วยกันคือ ค่าห้องแบบจำกัดค่าใช้จ่าย และค่าห้องแบบเหมาจ่าย

ค่าห้องแบบจำกัดค่าใช้จ่าย คืออะไร

เป็นประกันที่จ่ายค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยในให้เรา (ผู้ป่วยใน คือผู้ป่วยที่ต้องรับการรักษาตัวที่โรงพยาบาล โดยนอนพักที่โรงพยาบาลอย่างน้อย 1 คืน) โดยจะแบ่งหมวดหมู่ค่ารักษาพยาบาลออกเป็นหลายหมวดด้วยกัน และมีเพดานกำหนดค่าใช้จ่ายในแต่ละหมวด ถ้าหมวดใดหมวดหนึ่งมีค่ารักษาเกินจากเพดานที่กำหนด จะต้องออกค่าใช้จ่ายส่วนเกินเอง ส่วนมากแล้ว จะแบ่งหมวดหลักๆดังนี้

  • ค่าห้อง ค่าอาหาร และค่าบริการพยาบาลต่อวัน เช่น 2,800 บาท/วัน
  • ค่าห้อง ค่าอาหาร และค่าบริการพยาบาล กรณี ICU เช่น 5,600 บาท/วัน
  • ค่าแพทย์ตรวจรักษาพยาบาลประจำวันต่อวัน เช่น 1,000 บาท/วัน
  • ค่าแพทย์ผ่าตัด หรือหัตถการ ต่อครั้งต่อโรค เช่น 60,000 บาท/ครั้ง/โรค
  • ค่าแพทย์วิสัญญี หรือหมอวางยาสลบในห้องผ่าตัด ต่อครั้งต่อโรค เช่น 6,000 บาท/ครั้ง/โรค
  • ค่าห้องผ่าตัดและอุปกรณ์ ต่อครั้งต่อโรค เช่น 5,500 บาท/ครั้ง/โรค
  • ค่ารักษาพยาบาลอื่นๆ ต่อครั้งต่อโรค เช่น 20,000 บาท/ครั้ง/โรค
  • ค่าตรวจวินิจฉัยทางรังสีวิทยาและการตรวจในห้องแลป ต่อครั้งต่อโรค เช่น 3,000 บาท/ครั้ง/โรค
  • ค่ารักษาพยาบาลฉุกเฉินผู้ป่วยนอก (กรณีอุบัติเหตุภายใน 24 ชั่วโมง) 1 ครั้ง เช่น 5,000 บาท/ครั้ง

สังเกตุดูง่ายๆนะคะ ว่าค่าใช้จ่ายแต่ละอย่างจะกำหนดมาเป็นขั้นสูงเลยว่า แต่ละหมวดหมู่เป็นยังไง ซึ่งประกันที่แบ่งหมวดหมู่เช่นนี้ จะมีข้อจำกัด ว่าถ้าเกิดนอนโรงพยาบาลอย่างน้อยสัก 3-4 คืน ( นอนด้วยไข้และน้ำมูก ไม่มีการผ่าตัด ) ค่ารักษาในหมวดหมู่ ค่ารักษาพยาบาลอื่นๆ ที่มีอยู่ 20000 บาท อาจจะไม่เพียงพอ ทำให้คุณพ่อคุณแม่ต้องจ่ายส่วนเกินตรงนี้เวลาออกจากโรงพยาบาลเพิ่มเติมคะ

แต่ข้อดี ของประกันแบบนี้ ก็คือ ค่าเบี้ยถูกกว่าแบบใหม่ที่เป็นเหมาจ่าย

คุณพ่อคุณแม่ที่มีงบประมาณจำกัด สัญญาค่ารักษาพยาบาลแบบนี้ ก็สามารถตอบโจทย์ได้ในระดับนึง เพียงแต่คุณพ่อคุณแม่อาจต้องสำรองเงินฉุกเฉินอีกส่วนนึง เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายส่วนเกินในการเข้ารพ. แต่ละครั้ง

แบบที่สอง คือ ค่ารักษาแบบเหมาจ่าย

http://moneyplan4life.com/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%99/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%82%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B9%88-%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A/

ประกันแบบใหม่ที่ สามารถคลอบคลุมค่าใช้จ่ายในโรงพยาบาลได้ มากขึ้น แต่ก็มีค่าใช้จ่ายที่แพงขึ้นกว่าแบบแบ่งหมวดหมู่ถึง 3 เท่า แล้วมันดีกว่าแบบแบ่งหมวดหมู่ยังไงล่ะ??

ประกันแบบเหมาจ่าย จะไม่แยกตรงหมวดหมู่ค่ารักษาและการผ่าตัด แต่จะรวมทั้งสองอย่างเข้าไว้ด้วยกัน เช่น ลูกเข้า รพ.ด้วยไข้ น้ำมูก มีเสมหะ ต้องนอนรพ.อย่างน้อย 3 วัน ค่าใช้จ่ายในส่วนค่ารักษาพยาบาลประมาณ 30000 บาท ถ้าซื้อประกันแบบแบ่งหมวดหมู่ ก็ต้องควักเงินจากกระเป๋าจ่ายเพิ่มอีก 10000 บาท แต่ถ้าเป็นแบบเหมาจ่าย ก็ไม่ต้องเสียเพิ่มเพราะ รวมอยู่ในแบบเหมาจ่ายเรียบร้อยแล้ว

ซึ่งแต่ละแบบ ก็อยู่ที่ความเหมาะสมของแต่ละครอบครัว ไม่มีตัวไหนที่ด้อยหรือมีข้อเสียมากกว่า ขึ้นอยู่กับตัวคุณพ่อคุณแม่ว่าจะเลือกให้ลูกของเราแบบไหนยังไง

ผู้เขียนขอแนะนำ..ดังนี้ว่า

การที่เราซื้อประกัน..เรารู้ว่าในแต่ละปีเราต้องมีค่าใช้จ่ายส่วนนี้เท่าไร เพื่อคุ้มครองลูกเวลาเข้ารพ. แต่ถ้าเราไม่ซื้อประกัน เวลาที่เกิดต้องเข้า รพ. เราจะไม่สามารถกำหนดได้เลยว่าเราจะเสียค่าใช้จ่ายครั้งนั้นเท่าไร

มีแบบไหน..ก็คุ้มครองความเสี่ยงในการเจ็บป่วยได้เหมือนกัน อยู่ที่ว่าเราจะครอบคลุมค่าใช้จ่ายได้มากน้อยต่างกัน

เพิ่มเติม..สักเล็กน้อย

– สำหรับเบี้ยประกัน เด็กตั้งแต่ 0-6 ปี เบี้ยประกันจะแพงกว่าเด็ก อายุ 6 ปีขึ้นไป เพราะเด็กในวัยนี้ร่างกายยังเติบโตไม่เต็มที่จึงมีโอกาสป่วยเข้ารพ.สูงกว่าเด็กอายุ 6 ปี

– ค่าห้องเด็กในแบบธรรมดา จะสามารถซื้อได้สูงสุด ไม่เกินแผน 2200 บาท ( ของเอไอเอ)

– สัญญาเพิ่มเติมแบบอื่นๆ จะอธิบายในบทต่อไป

– เด็กที่มีประวัติสุขภาพหรือเข้าไปนอนในรพ.มาก่อนทำประกัน บริษัทประกันอาจยกเว้นโรคที่เป็นมาก่อน โดยขึ้นอยู่กับการพิจารณาของบริษัท ผู้เขียนจึงขอแนะนำว่า ให้รีบซื้อประกันตั้งแต่เดือนแรกที่สามารถซื้อได้ เพื่อจะได้ไม่มีปัญหาในการรับประกันต่างๆ

– ไม่ว่าจะซื้อกับบริษัทไหน ถ้ามีปัญหาสุขภาพมาก่อน ต้องแถลงข้อมูลที่เป็นจริง ถ้าปกปิดข้อมูลเมื่อเกิดเข้ารพ. บริษัทรู้ความจริงจะไม่จ่ายสินไหมหรือค่าเคลมต่างๆให้ เพราะถือว่าผู้ทำประกันเจตนาปกปิดข้อมูล

อันดับแรกจบแล้วสำหรับ การเลือกสถานที่บริการว่าเราจะเข้าไปใช้บริการที่ไหน ก็จะได้หลักในการพิจารณาซื้อประกันแบบไหนตัวไหนบ้าง

อันดับที่สอง งบประมาณ

เมื่อได้งบประมาณมาแล้ว ว่าคุณพ่อคุณแม่สามารถที่จะซื้อประกันให้ลูกต่อปี เท่าไร

เราก็มาดูว่า ลูกจะซื้อประกันแบบไหน ทุนประกันเท่าไร

ข้อนี้ก็เป็นเรื่องงบประมาณที่ตัดสินใจ แล้วนำมาจัดสรรให้เหมาะแก่ครอบครัวนั้นๆ

image (1)

 

ผู้เขียนหวังว่า..บทความนี้อาจช่วยให้การตัดสินใจของคุณพ่อคุณแม่ เข้าใจเกี่ยวกับประกันมากขึ้น

มีปัญหา ที่สงสัยหรือผู้เขียนไม่ได้อธิบายลงไป ก็สอบถามมาได้ ยินดียินดีให้ข้อมูลทุกๆท่านคะ

หรือท่านใดที่มีตัวแทนเป็นคนที่รู้จักและสามารถพูดคุยได้ เพื่อให้ความกระจ่างในเรื่องของประกันสุขภาพ

จงอย่ารอช้าที่จะถามทุกข้อสงสัยนะคะ เพื่อสิทธ์ประโยชน์ของเราเองค่ะ

 

ท้ายสุด อันนี้เป็นตัวอย่างของค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริง

http://moneyplan4life.com/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B8%B5%E0%B8%A8%E0%B8%B6%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2/%E0%B8%84%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B9%83%E0%B8%8A%E0%B9%89%E0%B8%88%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%AB%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7/

You may also like...