การวางแผนภาษี

หลักการคิดภาษี โดยคร่าวๆ ให้เข้าใจง่ายๆก็คือ เงินที่เราหามาได้ หักค่าใช้จ่ายตามประเภทของรายได้นั้นๆ เหลือเท่าไหร่ ค่อยนำมาหักค่าลดหย่อนภาษีต่างๆ ที่รัฐเปิดโอกาสให้เรา จึงจะเหลือเป็นเงินได้สุทธิ ที่นำไปคิดภาษีตามอัตราภาษีแบบขั้นบันไดตามรูป

(ในเรื่องของขั้นตอน และหลักเกณฑ์ในการคิดรายได้ และค่าใช้จ่ายที่กฏหมายกำหนด ท่านผู้อ่านสามารถหาอ่านได้ในเว็บไซต์ของกรมสรรพากร หรือเว็บไซต์อื่นๆที่อธิบายไว้ค่อนข้างละเอียดแล้ว)

taxrate

จะเห็นได้ว่า รัฐออกแบบการจัดเก็บภาษี ที่เอื้อประโยชน์ให้กับผู้มีรายได้น้อย หมายความว่า ใครมีรายได้น้อย ก็จัดเก็บน้อย ใครมีมาก ก็จัดเก็บมาก

ทีนี้ คำถามก็คือ แล้วเราควรจะใช้สิทธิในการลดหย่อนภาษีตัวใดบ้าง

คำตอบก็คือ การลดหย่อนภาษี ให้ถือเป็นเรื่องรอง หรือเป็นผลพลอยได้จากการทำเป้าหมายทางการเงินอื่นๆของเรานั่นเอง

เพราะหากเรานำเรื่องการลดหย่อนภาษีมาคิดเป็นลำดับแรก อาจจะไม่ตอบโจทย์การวางแผนชีวิตของเรา ทำให้เราไม่บรรลุเป้าหมายที่อยากได้จริงๆ เพราะการใช้สิทธิลดหย่อนภาษี มันมีราคาที่ต้องจ่าย เช่น การซื้อกองทุน LTF, RMF หรือการซื้อประกันชีวิต หรือประกันบำนาญเพื่อลดหย่อนภาษี

หากเราเป็นผู้ที่มีรายได้มาก และเหลือเงินเก็บมาก การเสียภาษีด้วยอัตราที่สูง ก็ถือเป็นการเสียประโยชน์ในการเก็บออมของเรา หากเรามีเงินเหลือจากการทำตามเป้าหมายทุกข้อแล้ว ก็อาจพิจารณาใช้สิทธิได้ หรือถ้าผลิตภัณฑ์ทางการเงินตัวใดที่สามารถตอบโจทย์เป้าหมายทางการเงินของเราแล้ว แถมได้สิทธิลดหย่อนด้วย เช่น LTF, RMF, ประกันชีวิต, ประกันบำนาญ เป็นต้น ก็ถือว่าได้ประโยชน์ 2 ต่อ

แต่หากเราเป็นผู้มีรายได้น้อย การลดหย่อนภาษีด้วยการซื้อผลิตภัณฑ์ทางการเงิน แทนที่จะช่วยให้มีเงินเหลือมากขึ้น กลับกลายเป็นว่าเพิ่มภาระทางการเงินขึ้นมา เมื่อหักลบกับเงินภาษีที่ประหยัดได้ แทบจะไม่คุ้มกันเลย

ยกตัวอย่างเช่น การซื้อประกันออมทรัพย์ 100,000 บาท (ใช้สิทธิเต็มที่) แต่ฐานภาษีอยู่ที่ 10% กลายเป็นว่า เพิ่มภาระทางการเงินปีละ 100,000 บาท แต่ได้เงินคืนภาษีแค่ 10,000 บาท แล้วถ้าการเก็บเงินปีละ 100,000 เพื่อซื้อประกัน ทำให้เราไม่มีเงินเหลือเก็บ เพื่อเติมเต็มเป้าหมายอื่นๆอีกเลย ก็ถือว่าวางแผนผิดพลาด และได้ไม่คุ้มเสีย

เพราะฉะนั้น การเลือกผลิตภัณฑ์ในการลดหย่อนภาษี ต้องดูที่ความสามารถของเรา และที่สำคัญคือ เป้าหมายทางการเงิน เช่น เงินสำรองฉุกเฉิน การป้องกันความเสี่ยง การเก็บเงินเกษียณ การเก็บเงินการศึกษาบุตร ว่าเราได้ทำเป้าหมายนั้นก่อนแล้วรึยัง

(ผมได้ทำแบบฟอร์มในการวางแผนภาษีอย่างง่ายๆไว้ใน Excel เรื่องแผนการเงินส่วนบุคคล ไปดาวน์โหลดมาลองใช้ได้เลยครับ –> ดาวน์โหลดแผนการเงินส่วนบุคคล)

พูดถึงหลักการไปแล้ว ทีนี้มาดูว่า เรามีสิทธิในการลดหย่อนอะไรบ้าง

รายการหักลดหย่อน / ยกเว้นภาษี ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปีภาษี (ภ.ง.ด.90 / 91)
  1. ลดหย่อนส่วนบุคคล

     1.1  ผู้มีเงินได้

30,000 บาท* คณะบุคคลหรือห้างหุ้นส่วนสามัญที่ไม่ใช่นิติบุคคล 60,000 บาท
(หากหุ้นส่วนฯ อยู่ในประเทศไทยเพียงคนเดียวหักลดหย่อนได้ 30,000 บาท)
     1.2  คู่สมรส (ที่ไม่มีเงินได้) 30,000 บาท
     1.3  บุตรที่ศึกษาในประเทศ คนละ  17,000 บาท
     1.4  บุตรที่ไม่ได้ศึกษาหรือศึกษาในต่างประเทศ คนละ  15,000 บาท
     1.5  ค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดา มารดาของผู้มีเงินได้
ค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดา มารดาของคู่สมรสที่ไม่มีเงินได้ทั้งนี้  บิดามารดามีอายุ 60 ปีขึ้นไป และไม่มีเงินได้
พึงประเมินเกิน 30,000 บาทในปีภาษี
คนละ  30,000 บาท
     1.6  ค่าอุปการะเลี้ยงดูคนพิการหรือคนทุพพลภาพทั้งนี้  คนพิการหรือคนทุพพลภาพต้องไม่มีเงินได้
พึงประเมินเกิน 30,000 บาทในปีภาษี
คนละ  60,000 บาท
  1. ลดหย่อนและยกเว้น สำหรับเบี้ยประกันชีวิต

     2.1  ผู้มีเงินได้

ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท
(หักลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10,000 บาท   ส่วนที่เกิน 10,000 บาท ได้รับยกเว้นไม่เกิน 90,000 บาท) หากเบี้ยประกันภัยที่จ่าย เป็นเบี้ยประกันภัยสำหรับการประกันชีวิตแบบบำนาญที่จ่ายตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2553 เป็นต้นไป ให้ยกเว้นอีกร้อยละ 15 ของเงินได้พึงประเมิน แต่ไม่เกิน 200,000 บาท และเมื่อรวมกับเงินที่จ่ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ  กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ  กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน  หรือค่าซื้อหน่วยลงทุนกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพแล้ว ต้องไม่เกิน 500,000 บาท
     2.2  คู่สมรสที่ไม่มีเงินได้ หักลดหย่อนได้ ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10,000 บาท
  1. ยกเว้นเบี้ยประกันสุขภาพ บิดา มารดา ของผู้มีเงินได้ และบิดา

     มารดาของคู่สมรส ที่ไม่มีเงินได้

ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท
  1. ลดหย่อนและยกเว้นเงินสะสมที่จ่ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 500,000 บาท
(หักลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10,000 บาท ส่วนที่เกิน 10,000 บาท ได้รับยกเว้นไม่เกิน 490,000 บาท และไม่เกินร้อยละ 15 ของค่าจ้าง)
  1. ยกเว้นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF)

เงินได้ตามจำนวนที่จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวม
เพื่อการเลี้ยงชีพ  ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาด
หลักทรัพย์ พ.ศ.2535

ไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้พึงประเมิน  และไม่เกิน 500,000 บาท  เมื่อรวมกับ
เงินสะสมที่จ่ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ หรือกองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน
  1. ยกเว้นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF)

เงินได้ตามจำนวนที่จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวม
หุ้นระยะยาว ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาด
หลักทรัพย์ พ.ศ.2535

ไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้พึงประเมิน และไม่เกิน 500,000 บาท
  1. ยกเว้นเงินสะสม กบข.
ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 500,000 บาท
  1. ยกเว้นเงินสะสมกองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน
ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 500,000 บาท
  1. ยกเว้นเงินค่าชดเชยที่ได้รับตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครอง
    แรงงาน (ไม่รวมค่าชดเชยเพราะเหตุเกษียณอายุ หรือสิ้นสุด
    สัญญาจ้าง)
ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 300,000 บาท  ของค่าจ้างหรือเงินเดือนของการทำงาน 300 วันสุดท้าย
  1. ลดหย่อนและยกเว้น สำหรับดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อการมีที่อยู่อาศัย

     10.1  ผู้มีเงินได้กู้ยืมคนเดียว

ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท
(หักลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10,000 บาท ส่วนที่เกิน 10,000 บาท ได้รับยกเว้นไม่เกิน 90,000 บาท)
     10.2  ผู้มีเงินได้หลายคนร่วมกันกู้ยืม ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่รวมกันไม่เกิน 100,000 บาท ตามส่วนเฉลี่ยดอกเบี้ยของจำนวนผู้กู้
  1. ลดหย่อนเงินสมทบที่จ่ายเข้ากองทุนประกันสังคม
ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน  9,000 บาท ตามกฎหมายว่าด้วยประกันสังคม* กรณีสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ จ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม และความเป็นสามีภริยาได้มีอยู่ตลอดปีภาษี ให้ผู้มีเงินได้หักลดหย่อนได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน  9,000 บาท
  1. ลดหย่อนและยกเว้นเงินบริจาค

     12.1  ยกเว้นค่าใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนการศึกษา

 

2 เท่าของจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน ร้อยละ 10
ของเงินได้หลังจากหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนอย่างอื่นก่อนหักลดหย่อนเงินบริจาค
     12.2 ยกเว้นค่าใช้จ่ายและเงินบริจาค ดังนี้

  • ยกเว้นค่าใช้จ่ายการจัดหาหนังสือหรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อส่งเสริมการอ่าน
  • ยกเว้นค่าใช้จ่ายในการจัดให้คนพิการได้รับสิทธิประโยชน์
  • ยกเว้นเงินบริจาคให้แก่กองทุนพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการจัดตั้งขึ้น
  • ยกเว้นค่าใช้จ่ายให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดตั้งศูนย์พัฒนาเด็กเล็กหรือสนับสนุนการดำเนินงานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
2 เท่าของจำนวนที่จ่ายจริง แต่เมื่อรวมกับยกเว้นค่าใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนการศึกษา ต้องไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินได้หลังจากหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนอย่างอื่นก่อนหักลดหย่อนเงินบริจาค(พระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 515)  (ฉบับที่ 519)  (ฉบับที่ 520) และ
(ฉบับที่ 526) พ.ศ.
2554)
     12.3  ลดหย่อนเงินบริจาคทั่วไป ตามจำนวนที่จ่ายจริง ในเดือน ม.ค. ถึง ธ.ค. แต่
ไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินได้หลังจากหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนอย่างอื่น
     12.4  ลดหย่อนเงินบริจาคเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย 1.5 เท่าของจำนวนที่บริจาคจริงในเดือน ก.ย. ถึง ธ.ค. 2554  แต่เมื่อรวมกับเงินบริจาคทั่วไป ต้องไม่เกินร้อยละ10 ของเงินได้หลังจากหักค่าใช้จ่ายและ
ค่าลดหย่อนอย่างอื่น(พระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 527) และ (ฉบับที่ 529) พ.ศ.2554)
  1. ยกเว้นเงินได้ที่ผู้มีเงินได้ซึ่งเป็นผู้อยู่ในไทย และมีอายุ
    ไม่ต่ำกว่า 65 ปี บริบูรณ์
ยกเว้นตามจำนวนเงินได้พึงประเมิน แต่ไม่เกิน 190,000 บาท
  1. ยกเว้นเงินได้ที่ผู้มีเงินได้ซึ่งเป็นคนพิการอยู่ในไทย และ
    มีอายุไม่เกิน 65 ปี บริบูรณ์
ยกเว้นตามจำนวนเงินได้พึงประเมิน แต่ไม่เกิน 190,000 บาท
  1. ยกเว้นเงินได้จากการซื้ออสังหาริมทรัพย์ฯ
ตามจำนวนที่จ่ายเป็นค่าซื้ออสังหาริมทรัพย์ฯ ที่มีมูลค่าไม่เกิน 5,000,000 บาท ซึ่งได้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในระหว่างวันที่ 21 ก.ย. 2554 ถึง 31 ธ.ค. 2555 เพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยของตน  เป็นจำนวนไม่เกินภาษีเงินได้ที่คำนวณจากเงินได้สุทธิหรือที่ต้องชำระก่อนการคำนวณหักภาษี ณ ที่จ่ายและเครดิตภาษี แต่ไม่เกินร้อยละ 10 ของมูลค่าของอสังหาริมทรัพย์นั้น ทั้งนี้ ต้องใช้สิทธิดังกล่าวเป็นเวลา 5 ปีภาษีต่อเนื่องกัน โดยให้ใช้สิทธิเป็นจำนวนเท่าๆกัน ในแต่ละปีภาษี(พระราชกฤษฎีกา ฯ (ฉบับที่ 528) พ.ศ.2554)
  1. ยกเว้นเงินได้ที่ได้จ่ายเป็นค่าซ่อมแซมบ้านที่ได้รับผลกระทบจาก
    อุทกภัยที่เกิดขึ้นในระหว่างวันที่

    25 ก.ค. 2554 
    – 31 ธ.ค. 2554

* อยู่ระหว่างตราเป็นกฎหมาย

ตามจำนวนที่จ่ายจริงเป็นค่าซ่อมแซมบ้าน แต่รวมกันต้องไม่เกิน 100,000 บาท  สำหรับการใช้สิทธิในปีภาษี 2554 และปีภาษี 2555
  1. ยกเว้นเงินได้ที่ได้จ่ายเป็นค่าซ่อมแซมรถยนต์ที่ได้รับผลกระทบ
    จากอุทกภัยที่เกิดขึ้นในระหว่างวันที่

    25 ก.ค. 2554 – 31 ธ.ค. 2554

* อยู่ระหว่างตราเป็นกฎหมาย

ตามจำนวนที่จ่ายจริงเป็นค่าซ่อมแซมรถยนต์ แต่รวมกันต้องไม่เกิน 30,000 บาท  สำหรับการใช้สิทธิในปีภาษี 2554 และปีภาษี 2555

หมายเหตุ ข้อมูลจากกรมสรรพากร

http://www.rd.go.th/publish/45879.0.html