คุ้มครอง vs คุ้มค่า

หลายๆคนเมื่อมองหาประกันสักนึงตัว เพื่อโอนความเสี่ยงเวลาเกิดการเจ็บป่วยขึ้นมา ก็อาจจะมีคำถามติดตามมาว่า

” ประกันคุ้มๆน่ะมีไหม? ”

คำตอบมีแน่นอน แต่ว่า ความคุ้มของการโอนความเสี่ยงอาจต้องแลกกับความสูญเสียบางอย่าง

แล้วจะยอมแลกไหม? เพื่อรับความคุ้มจากประกัน

เราอาจจะลองดูเป็นเรื่องๆไปว่าความคุ้มเนี่ย เป็นยังไงบ้าง

จะขอลองยกตัวอย่างหลายๆแบบ เพื่อให้เห็นว่า ความคุ้มของประกันเป็นอย่างไรกันบ้าง

– ” อยากได้ประกันที่ซื้อแบบคุ้มๆอ่ะ ”

ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่า ประกัน คือ การโอนความเสี่ยง เพื่อคุ้มครอง ชีวิตและทรัพย์สิน ย้ำ! ชีวิตและทรัพย์สิน 

1-20120810103152EU

เมื่อต้องการความคุ้มจากประกัน บางทีก็อาจต้องแลกด้วย ชีวิตและทรัพย์ใช่หรือไม่

หลายๆคนอาจจะยังไม่เข้าใจเรื่องประกันอย่างแท้จริง อาจคิดว่ามีติดไว้เผื่อเกิดอะไร ก็ยังมีประกัน

ความไม่เข้าใจนี้เองอาจทำให้ แทนที่จะได้รับประโยชน์จากประกันได้เต็มที่ ก็ได้น้อยลง

การถามหาความคุ้มของการซื้อประกัน ง่ายๆเลย

ถ้าคุณตกลงทำสัญญากับบริษัทประกัน สัก 1 กรมธรรม์ คุณจะได้รับ ความคุ้มครองในกรณีเสียชีวิต ทันทีตามทุนประกันที่เลือกซื้อ นั่นหมายความว่า

” ถ้าอยากได้ความคุ้มจากการทำประกันเลย อาจต้องแลกด้วยชีวิต “

นั่นคือสิ่งที่คนต้องการความคุ้มจากประกันจริงๆรึเปล่า

ในความเป็นจริงแล้ว การที่เราเลือกจะโอนความเสี่ยงให้กับประกัน ก็เพื่อว่า วันนึงที่เราไม่รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้น หรือ เราไม่สามารถทำงานเพื่อเลี้ยงดูคนในครอบครัวได้ต่อไป การมีประกัน ก็ทำให้ คนข้างหลังเรา ไม่เดือดร้อนในวันที่ คนหารายได้ไม่สามารถหาได้อีกต่อไป  นั่นคือ สิ่งที่ประกันทำหน้าที่ของมัน

หรือ ง่ายๆ ประกันก็คุ้มครองความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น ในวันที่ไม่มีใครคาดเดาได้

ถ้าคุณมีคนข้างหลังที่ต้องห่วง หรือต้องดูแล การมีประกันก็เป็นสิ่งจำเป็นสิ่งหนึ่งเลย

มาถึงตรงนี้ คงไม่มีใครอยากแลกความคุ้มกับประกัน แน่นอน

 

มาดูความคุ้มอันถัดมา ” อยากได้ประกันคุ้มๆ ที่ครอบคลุมทุกๆอย่าง แต่จ่ายเบี้ยน้อยๆ ”

ประเด็นนี้ก็เป็นประเด็นที่เห็นมีคนถามกันมากมาย แต่ที่จริงในความต้องการแบบนี้ก็ไม่ผิดเสมอไป

การประกัน อธิบายง่าย การรวมกลุ่มของคนที่ต้องการป้องกันความเสี่ยง นำเงินมากองไว้ตรงกลางแล้วถ้าวันนึงมีใครสักคนเกิดความสูญเสียขึ้นมา ก็จะดึงเงินตรงกลางนั้นไปให้คนที่เดือดร้อนคนนั้น นั่นเอง

เพราะฉนั้น การที่ประกัน กำหนดเบี้ยประกันออกมาก็อิงตามความเป็นจริงของอัตราความเสี่ยงในประเทศเรา โดยใช้หลักการทางคณิตศาสตร์ประกัน มาคำนวน ( ไม่ได้คิดเอาเอง) ว่า การที่อายุเท่านี้ ความเสี่ยงในงานแบบนี้ เพศอย่างนี้ การดูแลสุขภาพแบบนี้ อัตราความเสี่ยงในการทำประกันก็จะแตกต่างกันออกไป

เช่น คนน้ำหนัก ปกติ ก็จ่ายเบี้ยในอัตราปกติ ซึ่งต่างจากคนน้ำหนักเกินมาก ก็ต้องจ่ายเบี้ยในอีกอัตรานึง

หรือ คนที่ต้องทำงานขับรถบนท้องถนน ก็ต้องมีความเสี่ยงมากกว่าคนที่ทำงานนั่งอยู่กับที่

มันก็คือหลักการที่ประกันนำมาใช้พิจารณา การรับสมัครทำประกันนั่นเอง

แล้วจ่ายน้อยๆซื้อประกันไม่ได้หรอ ???

ซื้อได้ แต่ประกันแต่ละอย่างก็มีอัตราความเสี่ยงในการคิดเบี้ย ต่างกัน เช่น

ถ้าต้องการจ่ายเบี้ย ปีละ 12000 บาท อยากได้ทุนประกัน สัก 10 ล้าน ได้ไหม?

คำตอบ ก็อาจจะยากสักหน่อย แต่ถ้าบริหารดีๆ หรือศึกษาประกันแต่ละแบบ ก็อาจจะทำได้

แต่ถ้าสามารถจ่ายเบี้ยประกัน ได้ปีละ 100000 บาท ทุนชีวิต 10 ล้าน ก็สามารถมีความคุ้มครองนั้นได้เลย

images (1)

บางคนอ่านมาถึงตรงนี้ อาจสงสัยว่า ก็คนมีเงินหนิ ก็ทำได้สิ แต่เราไม่มีเงิน แต่อยากทำประกัน ทำไม่ได้เลยหรอ

อย่าเพิ่งงงง…ใจร้อนไปคะ การที่เราสามารถแบ่งเงินส่วนนึงจากรายได้ของเรา มาจัดการกับความเสี่ยงนั้นเป็นเรื่องที่ดีอยู่แล้ว และดีมากๆด้วย เพราะเราไม่ได้มีเงินมากมายเหมือนคนรวยๆ ที่ถ้าเกิดอะไรขึ้นมา เค้าก็อาจไม่มีผลกระทบอะไรมากนัก ต่างกับมนุษย์เงินเดือนที่ต้องหาเช้ากินค่ำไปวันๆ ถ้าเกิดอะไรขึ้นมา รายได้ที่หาได้ก็จะหยุดชะงัก ทำให้เราเกิดปัญหาทางการเงินได้

ก็เลยอยากจะอธิบายว่า การที่แบ่งเงินส่วนนึงมานั้น ก็ต้องดูที่ความจำเป็นของแต่ละคน ว่าคนๆนั้นต้องการโอนความเสี่ยงในรูปแบบไหน ไม่มีใครที่จะมีความเสี่ยงหรือแบบประกันที่เหมาะสมเหมือนๆกัน

เช่น นาย ก. สามารถแบ่งเงินมาจัดการความเสี่ยงได้เดือนละ 1000 บาท ปีนึงก็ 12,000 บาท นาย ก.จะทำประกันอะไรดีล่ะ?

สมมุตินาย ก. มีลูก 1 คน มีทางบ้านที่ต้องดูแลอีก คือพ่อแม่ ในกรณีนี้ นาย ก. คือหัวหน้าครอบครัว ถ้าขาดนาย ก. ไปสักคน คนข้างหลังก็อาจจะลำบากอย่างมาก เพราะฉนั้น นาย ก. ควรจะต้องมีทุนประกันที่สูง ประมาณ 1,000,000 บาท แล้วนาย ก. อาจจำเป็นต้องมีความคุ้มครองโรคร้ายแรง อีกประมาณ 500,000 บาท เพราะโรคไม่มีใครรู้ว่าจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ แต่เมื่อเกิดแล้ว นายก. ก็ยังมีความคุ้มครอง 500,000 บาท มาดูแลตัวเองในวันที่ต้องดูแลร่างกายและไม่สามารถทำงานได้เหมือนเดิม ซึ่ง ตามที่นาย ก. ต้องมีความคุ้มครอง เบี้ยที่นาย ก. สามารถจ่ายได้นั้นก็เป็นได้อย่างที่นาย ก. สามารถแบ่งเงินนั้นมาโอนความเสี่ยงนั่นเอง

hqdefault

เพราะฉนั้น การที่สามารถแบ่งเงินได้น้อย ก็สามารถซื้อความคุ้มครองได้เหมือนกัน

แต่จริงๆ ประเด็นที่จะเล่าให้ฟัง ก็อาจจะมีบางคน ที่อยากจ่ายเบี้ยน้อยๆแต่อยากได้ประกันที่คุ้มครองทุกอย่าง บางคนถึงกับบอกว่า เข้า รพ. แล้วไม่ต้องจ่ายอะไรเลยน่ะมีมั๊ย ?

มาถึงตรงนี้ก็ต้องบอกว่ามี!! แต่ลักษณะแบบแต่ละอย่างอาจจะเปลี่ยนไป เช่น ถ้าเปรียบกับนาย ก. ก็อาจไม่ได้ทุนประกัน 1000000 บาท ทุนประกันอาจจะลดมา เหลือหลักแสน แต่ เอาไปซื้อความเสี่ยงในการรักษาพยาบาล แทน

จึงบอกได้ว่า เป้าหมายของแต่ละคนต่างกัน ไม่มีใครมีชีวิตที่เหมือนกัน การประกันที่ถูกต้อง ก็ต้องดูตามความเหมาะสมของชีวิตของคนที่ทำประกัน เป็นหลักนั่นเอง

มาถึงตรงนี้ อยากได้ประกันคุ้มๆ ก็ต้องมาลองศึกษาดูว่า คุ้มของคุณ คืออะไร?

 

” ประกันก็เหมือนร่ม ในวันที่ไม่มีฝน เราอาจมองไม่เห็นความสำคัญ แต่ถ้าวันที่ฝนตกจนเป็นพายุ การมีร่มสัก 1 คัน อย่างน้อย ก็ช่วยป้องกันฝนที่ร่วงลงมาได้บ้าง ”

main1

 

You may also like...